วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างโปรแกรมของภาษาต่อไปนี้


โครงสร้างของโปรแกรม

1. โปรแกรมปาสคาล
โปรแกรมในภาษาปาสคาล แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ

1. ส่วนหัว (Heading) เป็นการประกาศชื่อของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วยคำว่า PROGRAM ตามด้วยชื่อของโปรแกรม และจบบรรทัดด้วย ; รูปแบบ PROGRAM ชื่อโปรแกรม (รายชื่ออุปกรณ์); ตัวอย่าง PROGRAM EXAM1; PROGRAM EXAM1(INPUT,OUTPUT); ข้อสังเกต ชื่ออุปกรณ์ คือ INPUT, OUTPUT หรือชื่อของไฟล์ที่เกี่ยวข้องภายในโปรแกรมถ้าไม่ระบุจะถือว่า INPUT เข้าทาง keyboard และ OUTPUT ออกทางจอภาพ 2. ส่วนข้อกำหนด (Declaration part) คือส่วนตั้งแต่ส่วนหัวไปจนถึงคำว่า BEGIN ของโปรแกรมหลัก และเป็นส่วนที่เรากำหนดค่าต่าง ๆ ดังนี้ 2.1 VAR เป็นการกำหนดแบบของข้อมูลให้แก่ตัวแปร รูปแบบ VAR รายชื่อตัวแปร : ประเภทของข้อมูล; ตัวอย่าง VAR I,J,K : INTEGER; NAME : STRING; SALARY : REAL; 2.2 TYPE เป็นการกำหนดแบบของข้อมูลขึ้นใหม่ รูปแบบ TYPE ชื่อของแบบ = ประเภทหรือค่าของข้อมูล; ตัวอย่าง TYPE SCORE = INTEGER; WEEK = (MON, TUE, WED, THU, FRI); VAR TEST, MIDTERM, FINAL : SCORE; DAY : WEEK;
จากตัวอย่างต้องประกาศชื่อแบบของตัวแปรก่อนแล้วจึงประกาศชื่อตัวแปรที่เป็นแบบ 2.3 CONST เป็นการกำหนดค่าคงที่ รูปแบบที่ 1 CONST รายชื่อค่าคงที่ = ค่าที่กำหนด; รูปแบบที่ 2 CONST รายชื่อค่าคงที่ : ประเภทของข้อมูล = ค่าที่กำหนด; ตัวอย่าง CONST HEAD = ‘EXAMINATION’; CONST A = 15; CONST SALARY : REAL = 8000.00; 2.4 LABEL ใช้คู่กับคำสั่ง GOTO ภายในโปรแกรม รูปแบบ LABEL รายชื่อของ LABEL; ตัวอย่าง LABEL 256,XXX; เช่น GOTO 256; GOTO XXX; 3. ส่วนคำสั่งต่าง ๆ (Statement Part) เป็นส่วนสุดท้ายของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วย “BEGIN” และปิดท้ายด้วย “END.” ตัวอย่าง BEGIN Statement หรือคำสั่งต่าง ๆ ; END.

2. โปรแกรมภาษา C

โครงสร้างของภาษา C ทุกโปรแกรมของภาษา C มีโครงสร้างเป็นลักษณะ ดังรูป

3. Basic

โดรงสร้างในการเขียนโปรแกรมด้วย Visual Basic • การประกาศตัวแปร o แบบ Implicit o แบบ Explicit • กฎการตั้งชื่อตัวแปรและค่าคงที่ o การตั้งชื่อคอนโทรลและอ๊อบเจ็กต์ ตามคำแนะนำของไมโครซอฟท์ • ชนิดของข้อมูล • การใช้งานตัวแปรแบบใช้สัญลักษณ์พิเศษกำกับ • ขอบเขตของตัวแปร o ตัวแปรแบบ Local o ตัวแปรแบบ Public • การใช้งานตัวแปรร่วมระดับโพรซีเดอร์ • การตั้งชื่อตัวแปรแบบบอกชนิดและขอบเขต • ตัวแปรอาร์เรย์ o แบบสแตติก o แบบไดนามิก • การสร้างตัวแปรอาร์เรย์มากกว่า 1 มิติ • การใช้งานคอนโทรลอาร์เรย์ • การสร้างชนิดของข้อมูลขึ้นใช้เอง • การประกาศค่าคงที่ • ตัวดำเนินการใน Visual Basic 6.0 o ด้านคณิตศาสตร์ o ด้านตรรกะ o ด้านการเปรียบเทียบ o ด้านเชื่อมข้อความ

4. Assembly

โปรแกรม จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของเลขไบนารี่ที่เรียกว่าภาษา Machine ซึ่งเป็นภาษาที่สามารถ ติดต่อให้คอมพิวเตอร์ เข้าใจได้ ภาษา Machine นี้จะจัดให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นเลขฐานสิบหก (HEX) เช่น คำสั่ง 8 บิต 11101011B (B-ไบนารี่) เขียนได้เป็น 0EBH(H-ฐานสิบหก) แต่ก็เป็นการที่จะเข้าใจความหมาย ได้ยากในการใช้งาน การที่จะทำความเข้าใจภาษา Machine จะมีการใช้สัญลักษณ์ (Symbols) ที่เรียกว่า Mnemonics เพื่อแทนความหมายของคำสั่ง เช่น MOV A,#67H หมายความว่านำข้อมูลค่าคงที่ 67H ไปเก็บไว้ใน reg. A) โปรแกรมที่เขียนด้วยรหัส Mnemonics เรียกว่า ภาษา Assembly และก่อนที่จะให้ CPU ทำงานตามโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Assembly ได้ แต่ต้องเปลี่ยนให้เป็นภาษา Machine ก่อน โดยใช้ โปรแกรมแอสเซมเบลอ

5. Java

โครงสร้างโปรแกรมภาษาจาวา
public class ชื่อคลาส { public static void main(String[] agrs) { ประโยคคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม; ..................................................; } }
ตัวอย่างโปรแกรมภาษาจาวา ไฟล์ Example.java class Example { public static void main(String[] args) { String dataname = “Java Language“; System.out.println(“My name is OAK“); System.out.println(“OAK is a “ + dataname +“. “); } } หมายเหตุ Compile : javac Example.java จะได้ไฟล์ Example.class Run : java Example Output : My name is OAK OAK is a Java Language
คำอธิบาย - method main( ) จะเป็น method หลักที่ใช้ในการ run program ดังนั้นการกระทำต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดขึ้น ในการ run program จะต้องทำการเขียนคำสั่งไว้ใน method นี้ - การแสดงผลทางจอภาพ (Console Output) ใช้ method ชื่อ "println" ซึ่งอยู่ใน System.outคำสั่งนี้จะรับข้อมูลที่เป็น String เพื่อนำมาแสดงผลทางจอภาพ

6. Cobol

ภาษาโคบอล (COBOL programming language) เป็นภาษาโปรแกรมระดับสูงภาษาหนึ่งที่อยู่มาอย่างยาวนาน COBOL ย่อมาจาก Common Business Oriented Language เป็นภาษาที่นิยมนำไปใช้ทางธุรกิจ ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1959 โดยนักคอมพิวเตอร์กลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า Conference on Data Systems Languages (CODASYL) และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 ภาษาโคบอลมีการแก้ไขและปรับปรุงอยู่ตลอด ดังนั้น เพื่อขจัดปัญหาความแตกต่างของตัวภาษาโคบอลในแต่ละเวอร์ชัน สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกัน (ANSI) จึงได้พัฒนามาตรฐานกลางขึ้นมาในปี ค.ศ. 1968 เป็นที่รู้จักกันในนามของ ANS COBOL ต่อมาเมื่อ ปี ค.ศ. 1974 ทาง ANSI ได้นำเสนอ ANS COBOL รุ่นใหม่ที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่ารุ่น 1968 และในปี ค.ศ. 1985 ANSI ก็นำเสนออีกรุ่นหนึ่งที่มีคุณสมบัติมากกว่ารุ่นปี 1974 รูปแบบภาษาโคบอลแบ่งออกเป็น 4 ดิวิชั่น คือ 1. Identification division การกำหนดชื่อโปรแกรมและชื่อผู้เขียน 2. Environment division การอธิบายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3. Data division การอธิบายเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล 4. Procedure division การอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการประมวลผล

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตารางเลขฐาน


1.      ตารางเลขฐาน


2.      เลขฐานอื่นๆ เป็น 10
2.1.  1111001012  = 48510
2.2.    2FBC16      = (2*163) + (15*162) + (11*161) + (12*160)
                  = 8192 + 3840 + 176 + 12
                  = 1222010
2.3.    2868         = (2*82)  + (8*81) + (6*80)
                  = 128 + 64 + 6
                  = 19810
3.      เลขฐาน 10 เป็นรหัสนักศึกษาสองตัวสุดท้าย
3.1.  032  =  112
3.2.  0316 =  (0*161) + (3*160)
   =   0 + 3
   =   316
3.3.  038  =  (0*81) + (3*80)
   =   0 + 3
   =   38







วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ และโครงสร้างของระบบปฏิบัติการ


ใบงานที่ 9
โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ และโครงสร้างของระบบปฏิบัติการ

1.การขัดจังหวะ หรือการอินเตอร์รัปต์ หมายถึงอะไร จงอธิบาย

2.จงเปรียบเทียบการอินเตอร์รัปต์ กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์โดยทั่วไป ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
      =การติดต่อเพื่อรับส่งข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ก็เหมือนกันกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละวัน มนุษย์จะติดต่อสื่อสารกันในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ติดต่อกันเพื่อทำการค้าขาย พูดคุยกัน อย่างนี้เป็นต้น

3.สาเหตุที่การป้องกันฮาร์ดแวร์ มีบทบาทสำคัญต่อระบบปฏิบัติการที่รองรับหลายๆ งาน อยากทราบว่าเป็นเพราะอะไร จงอธิบาย
=เพื่อป้องกันการเรียกใช้อุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลแบบผิด ๆ หรืออ้างอิงตำแหน่งในหน่วยความจำที่อยู่ในส่วนของระบบปฏิบัติการ หรือไม่คืน การควบคุมซีพียูให้ระบบซึ่งมีการกำหนดว่าคำสั่งเรียกใช้อุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลเป็นคำสั่งสงวน (Privileged Instruction) ผู้ใช้ไม่สามารถเรียกใช้อุปกรณ์เองได้ ต้องให้ระบบปฏิบัติการเป็นผู้จัดการให้

4.จงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโหมดการทำงานของผู้ใช้ กับโหมดการทำงานของระบบมาให้พอเข้าใจ
=ผู้ใช้ก็จะทำงานเหมือนกับคอมพิวเตอร์ เราจะรับข้อมูลจาก ตา หู จมูก ปาก แล้วก็สมองจะทำการประมวลผลสิ่งที่เราดู ได้ยิน ได้กลิ่น หรือรับรส แล้วก็จะแสดงจากทางอาการหรือคำพูด ก็เหมือนคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูลจากเมาส์ คีย์บอร์ด แล้ว CPU ก็ทำการประมวลผล จากนั้นก็แสดงผลในรูปของเสียงหรือภาพ

5.ระบบปฏิบัติการจะมีการป้องกันอินพุต และเอาท์พุตอย่างไร จงอธิบาย
      =กลไกในการอ้างอิงหน่วยความจำหลัก ป้องกันกระบวนการให้ใช้หน่วยความจำหลักได้แต่ในส่วนของกระบวนการนั้นเท่านั้น เช่น การไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ระบบทำการรับส่งข้อมูลเองโดยตรง เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการใช้งานของอุปกรณ์รับส่งข้อมูล

6.ระบบปฏิบัติการจะมีการป้องกันหน่วยความจำอย่างไร จงอธิบาย
      =กลไกในการอ้างอิงหน่วยความจำหลัก ป้องกันกระบวนการให้ใช้หน่วยความจำหลักได้แต่ในส่วนของกระบวนการนั้นเท่านั้น

7.ระบบปฏิบัติการจะมีการป้องกันซีพียูอย่างไร จงอธิบาย
=ระบบต้องมีการป้องกัน ความผิดพลาดที่เกิดจากกระบวนการหนึ่งไปกระทบอีกกระบวนการหนึ่ง โดยสร้างกลไกบางอย่างเพื่อป้องกันแฟ้มข้อมูล, หน่วยความจำส่วนหนึ่งหรือหน่วยประมวลผลกลาง




8.โครงสร้างของระบบปฏิบัติการประกอบด้วยกี่ส่วน อะไรบ้าง
=ระบบปฏิบัติการประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. เคอร์เนล (Kernel) หมายถึง ส่วนกลางของระบบปฏิบัติการ ซึ่งเป็นส่วนแรกที่ถูกเรียกมาใช้งาน และจะฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำหลักของระบบ ดังนั้นเคอร์เนลจึงต้องมีขนาดเล็ก โดยเคอร์เนลจะมีหน้าที่ในการติดต่อ และควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ และโปรแกรมใช้งาน (Application Programs)
2.โปรแกรมระบบ (System Programs) คือ ส่วนของโปรแกรมการทำงานของระบบปฏิบัติการ ซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ และผู้จัดการระบบ เช่น Administrator

9.ในการจัดการกับโปรเซส ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
=การจัดการงานที่เราจะทำการประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลแบบการแบ่งเวลา หรืออื่นๆ โดยแต่ละโปรเซสจะมีการกำหนดการใช้ทรัพยากรที่แน่นอน

10.ในการจัดการกับหน่วยความจำ ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
=การจัดการหน่วยความจำจัดเป็นหน้าที่หนึ่งของระบบปฏิบัติการ หน่วยความจำนี้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณาขีดความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย  กล่าวคือถ้าหากคอมพิวเตอร์มีความจำมาก  นั้นหมายถึงขีดความสามารถในการทำงานก็จะเพิ่มขึ้นโปรแกรมที่มีสลับซับซ้อนและมีสมรรถนะสูง มักจะเป็นโปรแกรมที่ต้องการหน่วยความจำสูง แต่ก็เป็นที่ทราบแล้วว่าหน่วยความจำมีราคาแพง ดังนั้นระบบปฏิบัติการที่ดีจะต้องมีการจัดการหน่วยความจำที่มีอยู่จำกัด ให้สามารถรองรับงานต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้หน่วยความจำจำนวนมากได้

11.ในการจัดการกับแฟ้มข้อมูล ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
=เป็นการทำงานของระบบปฏิบัติการโดยทำหน้าที่ในการโอนถ่ายข้อมูลลงไปจัดเก็บในอุปกรณ์บันทึกข้อมูล

12.ในการจัดการกับอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
=ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่ในการรับข้อมูล และแสดงข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์ต่างๆ โดยข้อมูลที่ส่งไปยังอุปกรณ์เหล่านี้ จะผ่านสายส่งข้อมูล

13.ในการจัดการกับหน่วยความจำสำรอง เช่น ดิสก์ ระบบปฏิบัติการจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ
=ระบบปฏิบัติการทำหน้าที่โอนถ่ายข้อมูลไปจัดเก็บในอุปกรณ์บันทึกข้อมูล

14.จงสรุปงานบริการของระบบปฏิบัติการมาพอเข้าใจ
=ระบบปฏิบัติการจะเป็นเหมือนตัวกลางที่เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้งาน จะรับข้อมูลทางเมาส์หรือคีย์บอร์ด จากนั้นจะส่งไปยัง CPU เพื่อให้ประมวลผลออกมา แสดงผลจะอยู่ในรูปของเสียงหรือภาพ

15.ในการติดต่อระหว่างโปรเซสกับระบบปฏิบัติการ จะเกี่ยวข้องกับกลุ่มงานใดบ้าง จงอธิบาย
=สถานะของโปรเซส (Process Status)ก็จะมี  สถานะเริ่มต้น (New Status) ,สถานะพร้อม (Ready Status) ,สถานะรัน (Running Status),สถานะรอ (Wait Status),สถานะบล็อก (Block Status)และสถานะสิ้นสุด (Terminate Status)

วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การนำเสนอปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

การวิเคราะห์และตรวจสอบเพื่อปัญหาคอมพิวเตอร์ 

การวิเคราะห์และแก้ปัญหา คอมพิวเตอร์

                ในส่วนของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป มักพบกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บ่อยๆ ส่วนใหญ่แล้วต้องทำการเรียกช่างเทคนิคเพื่อทำการตรวจซ่อม ซึ่งถ้าหากว่าในหน่วยงานนั้น ไม่มีช่างเทคนิค หรือบุคคลที่ทำจะการแก้ไขปัญหานั้นๆ ได้ จำเป็นต้องใช้บริการจากร้านซ่อมทั่วไป ซึ่งตรงนั้นจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมา
                เอกสารชุดนี้ เป็นการรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ และแนวทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้นที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานต่อไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นการประหยัดรายจ่ายได้อีกทางหนึ่ง
                การรวบรวมปัญหา จะเป็นปัญหาทั่วไปที่ไม่เจาะลึกไปถึงทางด้านเทคนิค เป็นปัญหาที่มักพบเสมอสำหรับผู้ใช้ทั่วไป (ไม่รวมถึงช่างเทคนิคซึ่งเมื่อพบปัญหาที่เกิดขึ้นจะต้องใช้เวลาในการตามช่างเทคนิคให้มาทำการแก้ไขให้ แม้ว่าปัญหานั้นอาจดูง่ายในส่วนของช่างเทคนิค แต่ผู้ใช้ทั่วไป มันเป็นเรื่องใหญ่เสมอ
                แนวทางในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาในเอกสารนี้ จะเป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับผู้ใช้ทั่วไป เป็นแนวทางที่จะสามารถทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเป็นปกติในเบื้องต้นก่อนที่จะทำการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป

การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

                ในการที่จะทำการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นที่ผู้ใช้ทั่วไปต้องทราบถึงการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ก่อน ต้องทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานอย่างไร เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็จะสามารถที่จะวิเคราะห์ได้ว่าปัญหาเกิดขึ้นที่ส่วนใด ทำให้การกำหนดสาเหตุได้แคบลงการแก้ปัญหาก็สามารถที่จะทำได้ง่าย

ขั้นตอนการเริ่มทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

                ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์ การที่จะทำการแก้ไขปัญหานั้นๆ ต้องกระทำอย่างเป็นขั้นตอน โดยเรียงลำดับได้ ดังนี้
·       ทำการวิเคราะห์ว่าปัญหาเกิดที่ส่วนใด
·       ทำให้ระบบตอบสนองการทำงานให้ได้
·       ทำให้เครื่องสามารถบู้ตระบบให้ได้อีกครั้ง
ส่วนมากแล้วจะมุ่งไปที่ส่วนสุดท้ายซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญน้อยที่สุด การวิเคราะห์ปัญหา
เป็นส่วนที่สำคัญที่จะทำให้เราทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและทำการแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้นโดยที่อาจไม่กระทบไปถึงข้อมูลที่อยู่ภายในของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถที่จะรักษาข้อมูลเดิมไว้ได้
การซ่อมแซม Windows 7 แบบไม่ต้องลงวินโดว์ใหม่ 

วิธีลงWindowใหม่ โดยไม่ต้องฟอแมท และไม่ต้องลงโปรแกรมใหม่

1. เปิดเครื่องบูตเข้าสู่วินโดว์ตามปกติ 
2. นำแผ่น Setup CD ของวินโดว์สใส่ลงในไดรฟ์ซีดีรอม 
3. คลิกปุ่ม Start -> Run 
4. พิมพ์คำสั่ง E:\i386\winnt32 /unattend แล้วคลิกปุ่ม OK (ในกรณีที่ ไดรฟ์ซีดีรอมเป็นไดรฟ์ ถ้าเป็นไดร์ฟอื่นก็ให้แก้เป็นตามนั่นเช่น C:\ or D:\) 
5. โปรแกรมติดตั้งจะเริ่มดำเนินการติดตั้งวินโดว์ให้ใหม่โดยยังคงรักษา 

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คุณสมบัติของหน่วยความจำ

        Static คือ การประกาศล่วงหน้า โดยไม่จำเป็นต้องกระทำใน Methodโดยเมื่อเราประกาศตัวแปรแบบ Static แล้ว เราก็สามารถนำตัวแปรนี้ไปใช้ได้ในทุกๆ Method ใน Class นั้นๆ

ไดนามิกเว็บเพจ dynamic web page) เป็นลักษณะของเว็บเพจ ที่เนื้อหาภายในเว็บไซต์มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยสามารถเปลี่ยนแปลงได้หลายลักษณะเช่น จากผู้พัฒนาเว็บไซต์เอง หรือจากผู้เข้าชมที่มีส่วนร่วมในเว็บไซต์
  แคช cache) คือส่วนของข้อมูลที่ถูกเก็บซ้ำไว้ในคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการใช้งานครั้งต่อไปโดยไม่ต้องเรียกข้อมูลจากต้นแหล่งอีกครั้ง นิยมใช้เมื่อข้อมูลต้นฉบับมักจะมีราคาแพงในการเรียกใช้ เมื่อแคชถูกสร้างขึ้น การเรียกใช้ข้อมูลในครั้งต่อไปจะถูกอ่านข้อมูลจากแคช แทนที่จะอ่านข้อมูลจากต้นฉบับหรือต้นแหล่งเพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย รวมถึงการเพิ่มความเร็วในการเรียกใช้งาน แคชนิยมใช้เมื่อรูปแบบการใช้ข้อมูลมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันและมีการใช้ซ้ำบ่อย
เนื่องจากแคชมีจุดประสงค์เพียงแค่ต้องการจะเพิ่มความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ไม่ใช่ใช้เก็บข้อมูลจริงๆ ข้อมูลในแคชจึงมีโอกาสหายไปได้ตลอดเวลา ในกรณีที่มีคำสั่งเรียกข้อมูลและข้อมูลยังไม่หายไปจากแคช จะเรียกว่า cache hit นั่นคือสามารถอ่านข้อมูลจากแคชได้ อย่างไรก็ตามหากข้อมูลไม่อยู่ในแคชแล้ว จะเรียกว่า cache miss ซึ่งทำให้ต้องไปอ่านข้อมูลจากต้นแหล่งซึ่งเสียเวลามากกว่า